โลโก้เว็บไซต์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ลงพื้นที่ประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 โครงการแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดอกไม้กินได้ด้วยกระบวนการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งเพื่อการส่งออก หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพ็ญวรัตน์  พันธ์ภัทรชัย ร่วมกับบริษัทกระซิบรักฟาร์ม จำกัด ตำบลยางเนิ้ง  อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่	 | กองประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ลงพื้นที่ประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 โครงการแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดอกไม้กินได้ด้วยกระบวนการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งเพื่อการส่งออก หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพ็ญวรัตน์ พันธ์ภัทรชัย ร่วมกับบริษัทกระซิบรักฟาร์ม จำกัด ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 17 พฤศจิกายน 2566 โดย Natthida Wongpaeng จำนวนผู้เข้าชม 3160 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ว่าที่ร้อยโทสุรพิน พรมแดน พร้อมคณะ ได้ลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการ ณ บริษัทกระซิบรักฟาร์ม จำกัด ตำบลยางเนิ้ง  อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อประชุมประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย ณ สถานประกอบการ "โครงการแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดอกไม้กินได้ด้วยกระบวนการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งเพื่อการส่งออก ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพ็ญวรัตน์  พันธ์ภัทรชัย อาจารย์สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มทร.ล้านนา เชียงใหม่ หัวหน้าโครงการ"

โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชินานาฎ วิทยาประภากร อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้เชี่ยวชาญด้านเคมีพอลิเมอร์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร อาหาร การขอมาตรฐานเคมีสิ่งแวดล้อม BCG การจัดการของเหลือในกระบวนการผลิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา เชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นคณะกรรมการประเมินโครงการดังกล่าว 

ทั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพ็ญวรัตน์  พันธ์ภัทรชัย หัวหน้าโครงการ และคุณวิรุฬหวิชญ์ หิรัญนนท์ ห้างหุ้นส่วนผู้จัดการของบริษัทกระซิบรักฟาร์ม จำกัด ได้รายงานผลการดำเนินงานโครงการในที่ประชุม และร่วมหารือ แนวทางในการพัฒนาโครงการดังกล่าวเพื่อต่อยอดงานวิจัย และพาเยี่ยมชมสถานประกอบการในส่วนของการดำเนินการโครงการดังกล่าว อีกทั้งแนะนำดอกไม้นานาชนิดที่ทางบริษัทได้มีการปลูก และได้มีการชี้แนะแนวทางและมีความต้องการที่จะต่อยอดผลิตภัณฑ์ดอกไม้กินได้ในอนาคต

จากโครงการได้มีการพัฒนาความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดอกไม้กินได้ด้วยกระบวนการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (กระบวนการ Freeze Dry) ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาในเรื่องการขนส่งให้แก่สถานประกอบการอย่างแท้จริง และได้มีการวางแผนการพัฒนาต่อยอดโครงการต่อไป ที่จะส่งผลประโยชน์แก่ธุรกิจของสถานประกอบการในอนาคตอีกด้วย







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา