โลโก้เว็บไซต์ ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มทร.ล้านนา ประชุมหารือการขับเคลื่อนงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับผลงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์  | กองประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มทร.ล้านนา ประชุมหารือการขับเคลื่อนงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับผลงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 2 กรกฎาคม 2567 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 8688 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มทร.ล้านนา จัดโครงการประชุมสัมมนาเพื่อขับเคลื่อนงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กับผลงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์  บูรณาการสู่การกำหนดแนวทางให้ตอบโจทย์ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน “SDGs”   (Sustainable Development Goals)

     วันที่ 2 กรกฎาคม 2567 ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดโครงการประชุมสัมมนาเพื่อขับเคลื่อนงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กับผลงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ณ โรงแรมวินทรี ซิตี้ รีสอร์ท จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการกำหนดกรอบทิศทางพัฒนาแผนงานกิจกรรม ด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย การรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผน ปี 2567 และเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดทำแผนปฏิบัติงาน ปี 2568 ที่สอดคล้องกับพันธกิจ และตัวชี้วัดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน “SDGs” (Sustainable Development Goals) ของมหาวิทยาลัย โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.อุเทน คำน่าน รักษาราชการแทนอธิการบดี เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยปฐมพร พัฒนปวงวัน ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมศึกษา เป็นผู้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดงาน พร้อมด้วยอาจารย์อัคค์สัจจา ดวงสุภาสิญจ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิรประภา ชัยเนตร ผู้ช่วยอธิการบดี และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านศิลปวัฒนธรรมจากหน่วยงานต่างๆ ทั้ง 6 พื้นที่ จำนวน 50 รายเข้าร่วมโครงการ 

     โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อุเทน ได้กล่าวว่า "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา แม้เป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 ที่มีเป้าหมายในการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีและสนับสนุนส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม และการพัฒนากำลังคนเฉพาะทาง และการนำศิลปวัฒนธรรมเข้ามาผสมผสานเข้ากับบริบทของมหาวิทยาลัย นับว่าเป็นโจทย์ที่สำคัญและท้าทาย หากสังเกตดีๆ แผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนามหาวิทยาลัย ซึ่งจะมี Flagship อันหนึ่งที่เป็นตัวนำในการขับเคลื่อนคือการทำ Creative Lanna ดังนั้นศิลปวัฒนธรรมจึงเป็นเรื่องสำคัญในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย และตอบโจทย์เชิงพื้นที่ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่ในภาคเหนือ Northern Economic Corridors ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดที่สำคัญอยู่ 4 จังหวัดประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน และทั้ง 4 จังหวัดล้วนแล้วแต่มีความรุ่มรวยทางศิลปวัฒนธรรม ดังนั้นศูนย์วัฒนธรรมศึกษาเป็นเครื่องจักรที่สำคัญในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ให้กับมหาวิทยาลัย ด้วยการนำนักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษาและบุคลากร มาดำเนินการ”

     สำหรับโครงการประชุมสัมมนาเพื่อขับเคลื่อนงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กับผลงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 - 3 กรกฎาคม 2567 มีกิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับกรอบทิศทางการพัฒนาแผนงานกิจกรรมด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ศุภชัย อัครนรากุล และ นายประเสริฐ อุประทอง ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ และการแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติในการดำเนินกิจกรรมสืบสานประเพณีทางพระพุทธศาสนา









ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา