โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา คว้ารองอันดับ 1 ขบวนกระทงยี่เป็งเชียงใหม่ 63 | สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา คว้ารองอันดับ 1 ขบวนกระทงยี่เป็งเชียงใหม่ 63

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 2 พฤศจิกายน 2563 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 16103 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 จากการประกวดกระทงใหญ่ในเทศกาลยี่เป็งจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี 2563 

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 รองศาสตราจารย์ศีลศิริ สง่าจิตร ผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ขึ้นรับมอบถ้วยรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1  จากนายรัฐพล นราดิศร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ จากการประกวดกระทงใหญ่ในเทศกาลยี่เป็งจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี 2563 ณ อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ซึ่งกระทงใหญ่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดทำขึ้นภายใต้แนวคิด "อานิสงส์ผางประทีสบูชา พระญาฆาติกาพรหม" ที่บอกเล่าถึงตำนานแม่กาเผือก ผ่านการประดับตกแต่งรถกระทงใหญ่และการแสดงอย่างวิจิตรตระการตา โดยมีความเป็นมาของเรื่องราวดังนี้  ต้นปฐมกัป มีพญากาเผือกทํารังอยู่บนต้นไม้เดื่อ ไข่ออกมา 5 ฟอง วันหนึ่งขณะที่แม่กาออกหาอาหาร ลมพายุพัดไข่ทั้ง 5 ใบ ไหลตกแม่น้ําไป เมื่อแม่กาเผือกกลับมาแล้วไม่พบลูกทั้ง 5 จึงออกค้นหาและเสียชีวิตไป

    ไข่ทั้ง 5 ไหลเลาะน้ำไป มีแม่สัตว์ต่างๆ เก็บไข่ไปเลี้ยงคือแม่ไก่ แม่นาค แม่เต่า แม่โค และแม่ราชสีห์ ต่อมาไข่ทั้ง 5 ก็ฟักออกมาเป็นบุรุษทั้ง 5 และแม่สัตว์ทั้งหลายต่างก็เลี้ยงดูจนเติบใหญ่เมื่อมีอายุพอบวชได้แล้ว เพื่อเป็นการทดแทนคุณมารดาจึงออกบวชเป็นฤๅษี และแม่เลี้ยงทั้ง 5 ก็ได้อนุโมทนา พร้อมกับฝากชื่อเอาไว้

องค์ที่  1 มีพระนามว่า พระกกุสันโธ เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นไก่

องค์ที่  2 มีพระนามว่า พระโกนาคมโน เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นนาค

องค์ที่  3 มีพระนามว่า พระกัสสโป เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นเต่า

องค์ที่  4 มีพระนามว่า พระโคตโม เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นโค

องค์ที่  5 มีพระนามว่า พระศรีอาริยเมตไตรโย เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นราชสีห์

อยู่มาวันหนึ่งได้เหาะมาหาอาหารผลไม้ และบําเพ็ญเพียรธรรมที่ป่าดอยสิงคุตตระ ณ ใต้ต้นนิโครธ อันร่มเย็นด้วยกิ่งไม้สาขาใหญ่ ฤๅษีทั้ง 5 ได้มาพบกัน ณ ที่นี้โดยไม่ได้นัดหมาย จึงสอบถามถึงความเป็นมาของกันและกัน จนรู้ว่าแต่ละองค์ก็มีแต่แม่เลี้ยง ฤๅษีทั้ง 5 จึงร่วมกันตั้งสัจจะอธิษฐานขอให้ได้พบแม่บังเกิดเกล้า ด้วยอํานาจสัจจะอธิษฐานธรรมอันบริสุทธิ์ดังก้องไปถึงพรหมโลก ท้าวฆาติกามหาพรหม ซึ่งเดิมคือ แม่กาเผือก ทราบเหตุการณ์ทั้งหมดจึงจําแลงเพศเป็นรูปเดิม ขนขาวสวยงาม มาปรากฏตัวอยู่ข้างหน้าของฤๅษีทั้ง 5 เมื่อลูกฤๅษีได้ทราบเรื่องราวทั้งหมด ก็รู้สึกสลดสังเวชใจและสํานึกบุญคุณอันใหญ่หลวงของแม่กาเผือก จึงน้อมนมัสการผู้เป็นแม่ กราบขอสัญลักษณ์อนุสรณ์ผู้บังเกิดเกล้าไว้บูชา ได้มาเป็นฝ้ายเป็นรูปตีนกาสัญลักษณ์ของแม่กาเผือกให้แก่ฤๅษีทั้ง 5 ไว้ใช้เป็นไส้ประทีสจุดบูชาทุกวันพระ และต่อมาได้กลายเป็นประเพณีจุดประทีสตีนกาบูชาแม่กาเผือกในวันขึ้น 15 ค่ํา เดือน ยี่ (เหนือ) เป็นตํานานสืบไว้ตลอดกาลนาน

      ด้วยตำนานการถวายผางประทีสปทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาจึงนำเสนอ รถกระทงประจำปี 2563 ภายใต้เพื่อบอกถึงความหมายของการบูชาผางประทีส ให้ถึงพร้อมซึ่งความสง่างามแนวคิด อานิสงส์ผางประทีสบูชาพระญาติฆากาพรหม ด้านศิลปะวัฒนธรรมผ่านศรัทธาของชาวล้านนาที่มีต่อบวรพระพุทธศาสนา สืบต่อมา

 

 





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา