โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา เปิดพื้นที่ลำปางเป็นศูนย์พันธุกรรมแห่งแผ่นดิน พร้อมเดินหน้า BCG Model เชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติสู่มหาวิทยาลัย ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ | สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา เปิดพื้นที่ลำปางเป็นศูนย์พันธุกรรมแห่งแผ่นดิน พร้อมเดินหน้า BCG Model เชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติสู่มหาวิทยาลัย ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 21 มีนาคม 2565 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 4707 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

         ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน  รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวุธ ชัยเนตร ผู้ช่วยอธิการบดี ลำปาง และ รองศาสตราจารย์ ดร. มาลี ตั้งระเบียบ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร ร่วมประชุมและลงพื้นที่ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดลำปาง โดยมีนายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ พร้อมด้วย นายสัตวแพทย์ยุคล  ลิ้มแหลมทอง ประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาเกษตร เป็นประธานการประชุม ในโอกาสที่คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ ลงพื้นที่ร่วมประเมินติดตามผลการดำเนินงานพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดของจังหวัดลำปาง  เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2565 ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดลำปาง

            โอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ทองปรอน  รักษาราชการแทนอธิการบดี ได้ร่วมนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนพัฒนาศักยภาพคนเพื่อเป็นกำลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ของ มทร.ล้านนาที่เรียกว่า “ศูนย์พันธุกรรมแห่งแผ่นดิน” ซึ่งเป็นโมเดลการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคการศึกษา เพื่อเก็บรวมรวมพันธุกรรมด้านการเกษตรซึ่งจากพันธุกรรมที่ทาง มทร.ล้านนา ได้รวบรวมสายพันธุ์ที่หลากหลายนั้นจะสามารถช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้ประเทศมีความมั่นคงทางอาหารโดยลดการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ ตลอดจนสามารถลดการนำเข้าสารเคมีได้อย่างเด่นชัด

         รวมถึงการดำเนินนโยบาย 1 พื้นที่ 1 ต้นแบบ ในดึงศักยภาพความเข้มแข็งของแต่ละพื้นที่ และบูรณาการเข้ากับบริบทของท้องถิ่นที่มีความหลากหลาย สอดรับเข้ากับแผนพัฒนายุทธศาสตร์ของชาติเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแหล่งเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์และมีชีวิต โดยตั้งเป้าหากสามารถขับเคลื่อนโครงการนี้เป็นไปตามเป้าหมายจะเป็นแหล่งผลิตกำลังคน สร้างความสามารถในการแข่งขัน และปรับสมดุลและพัฒนาระบบด้วยโมเดลเศรษฐกิจ  BCG ที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาเชิงพื้นที่ในภาพรวม ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสร้างเกษตรมูลค่าสูง การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพ การเพิ่มโอกาสของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก การเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนในภูมิภาค และการพัฒนาศักยภาพคนเพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ประชาชนมีรายได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และชุมชนท้องถิ่นมีการรักษาฟื้นฟูทรัพยากรสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจในภาพรวม เพื่อให้เกิดการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ เกิดการกระจายโอกาสสู่เศรษฐกิจระดับฐานราก และเร่งยกระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมซึ่งทางจังหวัดลำปาง จังหวัด จะได้ทำการรวบรวมข้อเสนอของทุกภาคส่วนและจัดทำแผนเพื่อการปฏิรูปจังหวัดลำปางต่อไป

 





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา