เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 19 มิถุนายน 2566 โดย สกนธ์ เรืองฉาย จำนวนผู้เข้าชม 4547 คน
วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2566 เวลา 11.00 - 12.00 น. เป็นกิจกรรมการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กับ สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย เพื่อร่วมดำเนินการวิจัยและพัฒนาโครงการ “การพัฒนาแพลตฟอร์มด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์สู่จักรวาลนฤมิตร (AI-MHT)” ในรูปแบบออนไลน์
โครงการวิจัยดังกล่าวนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมีผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.นงนุช เกตุ้ย กรรมการสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย และอาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย
การเข้าร่วมกิจกรรมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในวันนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ อุปนายก และรักษาการนายกสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย , ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อํานวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ปฏิบัติการแทนผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ , ผศ.ดร.หิรัญ ประสารการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต , รศ.ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , ศ.ดร. วรรณา ชูฤทธิ์ รักษาการแทนรองอธิการบดี ปฏิบัติหน้าที่แทนรักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ , ผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และทีมนักวิจัย จากโครงการวิจัยย่อย ได้แก่
- “ศึกษาเส้นทางข้ามคาบสมุทรภาคใต้ตอนบน โครงการนำร่องจังหวัดระนอง ชุมพร เพื่อพัฒนาเส้นทางสายวัฒนธรรมภูมิอารยธรรมสุวรรณภูมิ จากร่วมรากสู่ร่วมสมัย” หัวหน้าโครงการย่อย อาจารย์อรวินท์ ลิขิตวิเศษกุล
- “แพลตฟอร์มยกระดับฐานความรู้ทางวัฒนธรรมด้วยเทคโนโลยีกราฟความรู้ การศึกษาเส้นทางข้ามคาบสมุทรสุวรรณภูมิ ชุมทางการค้าทางทะเล ก่อนพุทธศตวรรษที่ 11” หัวหน้าโครงการย่อย ดร.กาญจนา แสงทองพัฒนา
- “แพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์: กรณีศึกษาเส้นทางข้ามคาบสมุทรจังหวัดระนองและชุมพร” หัวหน้าโครงการย่อย ดร.ณสิทธิ์ เหล่าเส็น
- “ระบบจำแนกข้อความทางประวัติศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์: กรณีศึกษา ดินแดนสุวรรณภูมิ” หัวหน้าโครงการย่อย ดร.กาญจนา เหล่าเส็น
- “เกมออนไลน์สนับสนุนการท่องเที่ยวสำหรับชุมชนประวัติศาสตร์สุวรรณภูมิ” หัวหน้าโครงการย่อย ดร.พรพล ธรรมรงค์รัตน์
- “การพัฒนานวัตกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บริเวณเส้นทางการค้าดินแดนสุวรรณภูมิ (ท่องเที่ยวเส้นทางศุทรา)” หัวหน้าโครงการย่อย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงนุช เกตุ้ย
ทั้งนี้ทีมนักวิจัยขอขอบคุณผู้บริหาร และนักวิจัย ที่เข้าร่วมพิธีบันทึกข้อตกลงดังกล่าว รวมถึงพิธีกรดำเนินกิจกรรม นางสาววรัญญา กันทะ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา