โลโก้เว็บไซต์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ลงพื้นที่ประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 โครงการออกแบบและพัฒนาเครื่องบดย่อยสมุนไพรสำหรับวิสาหกิจชุมชนขนาดกลาง ของ นายกชรวิศ  หลำคำ ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรบ้านร้องขี้เหล็ก ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่  | สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ลงพื้นที่ประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 โครงการออกแบบและพัฒนาเครื่องบดย่อยสมุนไพรสำหรับวิสาหกิจชุมชนขนาดกลาง ของ นายกชรวิศ หลำคำ ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรบ้านร้องขี้เหล็ก ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 28 ธันวาคม 2566 โดย Natthida Wongpaeng จำนวนผู้เข้าชม 2485 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2566 กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU นำโดย ผศ.ว่าที่ร้อยโทสุรพิน พรมแดน หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU พร้อมคณะ ได้ลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรบ้านร้องขี้เหล็ก ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อประชุมประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย ณ สถานประกอบการ "โครงการการออกแบบและพัฒนาเครื่องบดย่อยสมุนไพรสำหรับวิสาหกิจชุมชนขนาดกลาง ของ นายกชรวิศ หลำคำ อาจารย์สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เชียงใหม่ หัวหน้าโครงการ"

โดยมี อาจารย์อภิชาติ ใสงาม ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเครื่องกล เทคโนโลยี การผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกล การออกแบบเครื่องจักรกลและระบบกลไกการทำงานของหุ่นยนต์ อาจารย์สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มทร.ล้านนา เชียงใหม่ และ ผศ.น้ำมนต์ โชติวิศรุต อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ให้เกียรติเป็นคณะกรรมการประเมินโครงการดังกล่าว 

ทั้งนี้ นายกชรวิศ  หลำคำ (หัวหน้าโครงการ) ,นายสมหมาย สารมาท (ผู้ร่วมโครงการ) พร้อมนักศึกษา ได้รายงานผลการดำเนินงานโครงการในที่ประชุม นางพัชรี เสนวรรณะ (ประธานวิสาหกิจชุมชน) พร้อมทั้งสมาชิกวิสาหกิจชุมชน ได้ร่วมรับฟัง และร่วมหารือ แนวทางในการพัฒนาโครงการดังกล่าวเพื่อต่อยอดโครงการและเพิ่มศักยภาพให้แก่สถานประกอบการด้วย รวมทั้งแนะนำผลิตภัณฑ์ที่ทางวิสาหกิจชุมชนได้ผลิตขึ้น ได้แก่ เครื่องดื่มสมุนไพร เช่น ขิงชนิดผง กระชายดำ ดอกคำฝอยผงสำเร็จรูป เป็นต้น ที่มีสรรพคุณต่างๆมากมาย

โดยนักวิจัยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและสำรวจโจทย์ความต้องการของวิสาหกิจชุมชนที่ต้องการเครื่องมือ หรือุปกรณ์ที่ทันสมัยในกระบวนการผลิต นักวิจัยจึงเข้ามาช่วยในการออกแบบและพัฒนาเครื่องบดย่อยสมุนไพร ที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการให้แก่สถานประกอบการวิสาหกิจชุมชนเพื่อในการช่วยเพิ่มผลผลิต และลดความเมื่อยล้าของกำลังคนเนื่องจากปัจจุบันวิสาหกิจยังคงใช้แรงงานคนเป็นหลักมีกำลังการผลิต จากโครงการดังกล่าวได้มีการออกแบบเครื่องบดย่อยสมุนไพรให้แก่วิสาหกิจ และได้มีการวางแผนปรับปรุงให้เครื่องสามารถใช้งานได้จริงและเป็นประโยชน์แก่วิสาหกิจชุมชนในอนาคต ทั้งนี้ได้มีการวางแผนการพัฒนาต่อยอดโครงการ และแนวทางการพัฒนาข้อเสนอโครงการและมีการแนะนำให้มีการขอทุนต่อยอดในอนาคตอีกด้วย 





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา