เผยแพร่เมื่อ : พุธ 6 มีนาคม 2567 โดย Natthida Wongpaeng จำนวนผู้เข้าชม 2314 คน
เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2567 กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ และเข้าร่วมประชุมติดตามและส่งมอบผลการดำเนินงาน "โครงการพัฒนาเครื่องบดถ่านลีโอนาไดต์สำหรับกระบวนการสกัดฮิวมัสน้ำ" ภายใต้โครงการต่อยอด โครงการส่งเสริมให้บุคลากรวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาไปปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตให้กับภาคอุตสาหกรรม (Talent Mobility) ประจำปี 2565 ของ ผศ.ว่าที่ร้อยโทสุรพิน พรมแดน หัวหน้าโครงการ ณ ห้างหุ้นส่วนจำกัดแม่เมาะวิศวกรรมเหมืองแร่ ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
โดย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) นำโดย ศ.ดร.สมฤกษ์ จันทรอัมพร รองอธิการบดี ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นคณะกรรมการในการประเมินติดตามและส่งมอบผลการดำเนินงานโครงการฯ และ นายศิรัสก์ ศิริสวัสดิ์ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ชำนาญการ), นางวราภรณ์ เนียนหอม (นักวิเคราะห์นโยบายและแผน)และนางสาว พิชาภัค อำมร (นักวิเคราะห์นโยบายและแผน) ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชม ณ สถานประกอบการ ในการตรวจติดตามประเมินผลโครงการ และร่วมให้คำแนะนำในการเเก้ไขรายงานความก้าวหน้าให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น รวมทั้งหารือแนะนำแนวทางการพัฒนาโครงการให้สามารถพัฒนาโครงการให้มีความยั่งยืนมากขึ้น ในครั้งนี้ด้วย
ทั้งนี้ นายสุพล เครือบุญมา หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดแม่เมาะวิศวกรรมเหมืองแร่ ได้ร่วมการประชุมและร่วมหารือ โดยมี ผศ.ว่าที่ร้อยโทสุรพิน พรมแดน หัวหน้าโครงการ พร้อมทั้ง ผู้ร่วมโครงการ ได้แก่ ผศ.ธวัชชัย อุ่นใจจม, อาจารย์จิรศักดิ์ ปัญญา และอาจารย์เมธัส ภัททิยธนี ร่วมกับนักศึกษาร่วมโครงการ ได้แก่ นายกันตพัฒน์ รักวงษ์ไทย, นายสุรพงษ์ ขุมทอง, นายปราโมทย์ จันทรัตน์ และนายภานุวัฒน์ แซ่โค้ว นักศึกษาคณะวิศวกรรมเครื่องกลที่ได้ร่วมกันดำเนินงานโครงการ ได้รายงานผลการดำเนินโครงการและสาธิตวิธีการใช้เครื่องบด ที่ได้ร่วมพัฒนา ภายใต้โครงการจนสำเร็จลุล่วงเป็นที่น่าพึงพอใจของสถานประกอบการ
ภายใต้โครงการนักวิจัยได้เข้าไปมีส่วนช่วยในการออกแบบและสร้างเครื่องบดถ่านลีโอนาไดต์สำหรับกระบวนการสกัดฮิวมัสน้ำ ซึ่งเป็นเครื่องบดเพื่อลดขนาดถ่านลีโอนาไดต์แบบสองขั้นตอน (ทำการบดหยาบและต่อด้วยทำการบดละเอียด) ให้อยู่ในช่วงขนาด 325 เมช. (44 μ) และมีกำลังการผลิต 5 ตัน/วัน เพื่อส่งต่อเข้าสูงกระบวนการสกัดฮิวมัสน้ำต่อไป ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าถ่านลีโอนาไดต์ที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการทำเหมืองถ่านหิน (เหมืองแม่เมาะ) จังหวัดลำปาง และสามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องตามหลักวิชาการที่เหมาะสม โดยสามารถยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้ประกอบการและสร้างรายได้แก่สถานประกอบการมากขึ้น
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา