เผยแพร่เมื่อ : พุธ 31 กรกฎาคม 2567 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 1363 คน
วันที่ 31 กรกฎาคม 2567 รศ.ดร.อุเทน คำน่าน รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นประธานการประชุมระดมสมองร่วมกับทีมผู้บริหารระดับสูง เพื่อพัฒนากลยุทธ์ใหม่ในการสร้าง Service Platform รองรับการแก้ไขโจทย์ปัญหาน่าน K Agro-Innovate Institute โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรในจังหวัดน่าน โดยมีรองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารพื้นที่ และผู้บริหารพื้นที่ เข้าร่วมการประชุม ณ มทร.ล้านนา น่าน
รศ.ดร.อุเทน คำน่าน รักษาราชการแทนอธิการบดี กล่าวว่า "การระดมสมองในวันนี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถพัฒนากลยุทธ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของงหวัดน่านได้ดียิ่งขึ้น โดยใ สร้าง Team Synergy ในการระดมสมองทีมผู้บริหาร เพื่อสร้าง Service Platform หา solution ที่สามารถช่วยแก้ปัญหา หรือส่งเสริม สนับสนุนงานวิชาการ ที่เป็นความต้องการ ของศูนย์วนเกษตร-พฤกษเภสัช Pharma Agroforestry District (PAD) ซึ่งเป็นต้นทางของการปลูกและการสกัดสารจากหญ้ายา ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มยกระดับเกษตรกร และขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในมิติด้านสุขภาพในการยกระดับคุณภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่พืชสมุนไพรของไทยเพื่อเป็นแนวทางในการฟื้นฟูป่าต้นน้ำน่าน ลดปัญหาการเกิดมลพิษทางการเกษตรที่ในจังหวัดน่านและจังหวัดใกล้เคียง นำไปสู่การแก้ไขปัญหาต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ เพื่อสร้างวิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบที่ยั่งยืนรวมถึงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ นวัตกรรมการเกษตร และการสร้างงานในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ
เราเชื่อมั่นว่าด้วยการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดของทีมผู้บริหาร เราจะสามารถสร้างนวัตกรรมและขับเคลื่อนการเกษตรในพื้นที่น่านไปสู่ความสำเร็จในระยะยาวได้ โดยโจทย์ปัญหาและแนวทางแก้ไขจากข้อมูลในการประชุมครั้งนี้เป็นโจทย์ของจังหวัดน่านซึ่งครอบคลุมถึงการเพิ่มมูลค่าผลผลิตในพื้นที่ เพื่อให้เกิดกระบวนการแก้ปัญหาในการดำเนินงานตั้งแต่กระบวนต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ การทำให้ที่ดินสามารถพัฒนาได้ การนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาด การสนับสนุนการสร้างงานในชุมชน การส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมการเกษตร การพัฒนาระบบเศรษฐกิจพอเพียง และการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น ซึ่งทีมผู้บริหารจากจังหวัดน่านได้นำเสนอแนวคิดและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชนเกษตรกรในพื้นที่ โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลและแนวโน้มต่าง ๆ ที่จะมีผลต่อการเกษตรในจังหวัดน่าน รวมถึงการสำรวจโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ และการปรับปรุงกระบวนการทำงานภายในองค์กร และมุ่งหวังในการสร้างโอกาสในการพัฒนามหาวิทยาลัยที่มุ่งมั่นจะเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและความยั่งยืนในภาคการศึกษาและการเกษตรต่อไป”
คลังรูปภาพ : 31-07-67
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา