โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา พิษณุโลก ร่วมใจสืบสานวิถีข้าวไทย มุ่งก้าวเข้าสู่การเป็นสถาบันการเรียนรู้เกษตรปลอดภัย รับน้องใหม่ด้วยการลงแขกดำนา | สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา พิษณุโลก ร่วมใจสืบสานวิถีข้าวไทย มุ่งก้าวเข้าสู่การเป็นสถาบันการเรียนรู้เกษตรปลอดภัย รับน้องใหม่ด้วยการลงแขกดำนา

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 29 พฤษภาคม 2560 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 4213 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 28 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก จัดโครงการ “ราชมงคลร่วมใจสืบสานวิถีข้าวไทย รับน้องใหม่ด้วยการลงแขกดำนา” โดยได้รับเกียรติจาก ว่าที่ร้อยตรีอิทธิพล บุบผะศิริ นายอำเภอเมืองพิษณุโลก เป็นประธานเปิดโครงการ ณ แปลงนาสาธิต มทร.ล้านนา พิษณุโลก จากนั้น ดร.ทินกร ทาตระกูล รองอธิการบดี มทร.ล้านนา พิษณุโลก ได้นำผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา ตลอดจนผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนในพื้นที่ ต.บ้านกร่าง กว่า 500 คน ร่วมกันลงแขกดำนา ด้วยการใช้ต้นกล้าข้าวพันธุ์ไรซ์เบอรี่ ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารสูงมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีคุณสมบัติในการต่อต้านการเกิดสารอนุมูลอิสระ โดยจะมีการดูแลรักษาต้นข้าวในรูปแบบเกษตรปลอดภัยตามอัตลักษ์ของมหาวิทยาลัย และจะได้มีการจัดกิจกรรมร่วมกันเก็บเกี่ยวผลผลิตอีกครั้ง

โดยก่อนการทำกิจกรรมลงแขกดำนา รศ.ดร.สมชาติ หาญวงษา อาจารย์ประจำสาขาพืชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา พิษณุโลก ได้บรรยายให้ความรู้เรื่องวิธีการปลูกข้าวแบบนาดำและ งานฟาร์มการผลิตพืชไร่นา ตามกำหนดการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) จากนั้นนักศึกษาใหม่ ได้พร้อมใจกันประกอบ“พิธีแรกดำนา” กล่าวคำขอขมาพระแม่ธรณี พระแม่คงคา พระแม่โพสพ และร่วมลงแขกดำนา ด้วยความสมัครสมานสามัคคี สำหรับโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาใหม่ ได้เรียนรู้วิธีการปลูกข้าวแบบดำนา ตระหนักถึงความสำคัญของข้าว สานสัมพันธ์อันดีระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง และส่งเสริมให้นักศึกษาร่วมกันอนุรักษ์ประเพณีการลงแขกดำนาให้ดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชาติไทย สืบไป  ติดตามชมภาพกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่  https://www.facebook.com/PrRLPhitsanulok/media_set?set=a.802919786532530.1073742742.100004435482094&type=3&uploaded=81  (ภาพ/ข้อมูล : ปชส.มทร.ล้านนา พิษณุโลก)





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา