โลโก้เว็บไซต์ ออกแบบมัลติมีเดีย มทร.ล้านนา เจ๋งคว้าบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม Short Science Film        | สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ออกแบบมัลติมีเดีย มทร.ล้านนา เจ๋งคว้าบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม Short Science Film

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 7 ธันวาคม 2559 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 4433 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS) จัดโครงการประกวดภาพยนตร์สั้นวิทยาศาสตร์ “Short Science Film” ประจำปี 2559 (ปีที่ 2) ภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีชีวภาพเปลี่ยนโลก” เพื่อเปิดสมอง กระตุกต่อมจินตนาการ สร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชน และสังคมไทย หันมาใส่ใจความสาคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีพิธีมอบรางวัลเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 ณ โรงภาพยนตร์ SF World ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เวิลด์ พลาซ่า กรุงเทพมหานคร

โดยกลุ่มนักศึกษาสาขาออกแบบมัลติมีเดีย ชั้นปีที่ 2 คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา คว้ารางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม 1 รางวัล และผ่านเข้ารอบ 10 ทีมสุดท้ายถึง 3 ทีม ทีม Heavy rain ส่งผลงานเรื่อง Rice of Life คว้ารางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม คว้าเงินรางวัล 15,000 บาท ประกอบด้วย น.ส.ชไมพร  แสงยอด, น.ส.นฤมล บัวสร้อย, น.ส.ภัคจิรา วัฒนกีบุตร, นาย พันธขจร ขาวอิ่น, นาย ศักดิ์พล อินเมฆ และ 3 ทีมที่ผ่านการเข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย คว้าเงินรางวัลทีมละ 5,000 บาท ทีม Luciano ผลงานเรื่อง Body น.ส.กวินธิดา จันทร์ศรี, น.ส.กุลยา หิรัญวิทยากุล, นายธรรมนูญ ฟุ่มเฟือย, นายเจตรินทร์ แปงนุจาและน.ส.ชลธิชา คำมณีจันทร์ ทีมแมวใจดำ ผลงานเรื่อง รักข้ามเพศ น.ส.กนิษฐา อุตม์ดง, น.ส.กชกร ปัญญา, น.ส.ศิริพร กิตติคุณานันท์, นายวัชรฤทธิ์ ฝ้ายตระกูลและนายสุวิจักขณ์ กรุงหิรัญ ทีมจ้องโปรดักชั่น ผลงานเรื่อง The Morning Glory นายกรศรัณย์ เสาร์แก้ว, นายประเสริฐ วารินต์, นายปรานต์ เขื่อนแก้ว, นายปิยเทพ สุวรรณพรม, น.ส.แพรววนิต กายาชัย โดยมีอาจารย์มณีกาญจน์  ไชยนนท์ เป็นอาจารย์ผู้ควบคุม

สำหรับโครงการ ภาพยนตร์สั้นวิทยาศาสตร์ “Short Science Film” ดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อสร้างนักสื่อสารวิทยาศาสตร์และสร้างนักวิทยาศาสตร์ที่จะผลิตผลงาน ถ่ายทอดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยแบ่งแข่งขันทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ ระดับมัธยมศึกษา ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป รวม 62 ทีม ทั่วประเทศไทย โดยเรื่องที่ได้รับรางวัลทั้งหมดจะนำไปเผยแพร่และส่งผลงานเพื่อแข่งขันในเวทีนานาชาติต่อไป

https://www.facebook.com/shortsciencefilm.tpbs.nsm/





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา